ออนไลน์ : 5
หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน
สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตำบลโนนโหนน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากที่ทำการอำเภอวารินชำราบ ระยะทางประมาณ 10.3 กิโลเมตรและห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 23,156 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6 ของอำเภอวารินชำราบ และอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบอนและตำบลโคกก่อง อำเภอสำโรง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินต่ำและมีป่าไม้ชุมชน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 124 - 133 เมตร มีลำห้วยผับไหลผ่านมีหนองน้ำตามธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไปองค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน พื้นที่การเกษตรและพื้นที่ ส.ป.ก. พื้นที่รวมของตำบลประมาณ 23,156 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ แยกได้ดังนี้ พื้นที่การเกษตรของตำบลรวม 14,530 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะและอื่นๆ 8,626 ไร่ ทั้งนี้มีพื้นที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) 4,022 –3 – 07 ไร่
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศมีอากาศแบบร้อนชื้นโดยทั่วไป คือ จะมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม และในปี 2558 มีฝนตกประมาณ 108 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 1,258.6 มิลลิเมตร
1.4 ลักษณะของดิน
ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายโดยมีคุณสมบัติเหมือนทรายน้ำซึมผ่านได้ง่ายมากดินร่วน เป็นดินที่ประกอบด้วย ทราย โคลนตม และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินทรายและดินเหนียวไม่มากนัก ดังนั้น น้ำและอากาศจึงไหลผ่านดินร่วนได้ดีกว่าดินเหนียว
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วยข่า(ม.4) หนองแคน(ม.4) ห้วยค้า(ม.5) หนองหัวช้าง(ม.5) ลำห้วยผึ้ง(ม.5) คลองน่าเหล่า(ม.6) หนองหว้า(ม.6) หนองฮู(ม.6) กุดโง(ม.3) ลำห้วยผับ(ม.7) หนองถ่าในเหล่า(ม.7) หนองสองห้อง(ม.7) หนองเหวอ(ม.7) หนองบักชอม(ม.6) หนองค่าน้อย(ม.7) ฮ่องพราก(ม.7) ฮ่องขี้ม่อน(ม.7) ลำห้วยผับ(ม.9) บุ่งโง(ม.9) ฮ่องแดง(ม.10) ห้วยผับ(ม.11) หนองซำแฮด (ม.11) ซึ่งนับว่าอุดมสมบูรณ์อย่างมาก ในน้ำมีปลา หลากหลายชนิดพันธุ์เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้าน
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เป็นลักษณะฝายคอนกรีตเสริมเหล็กมีบานประตูเหล็กเปิด-ปิดควบคุมระดับน้ำ ลำห้วยผับ
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ป่าชุมชน พื้นที่ป่าเป็นป่าชุมชนในที่สาธารณะประโยชน์ เรียกว่า“ โนน ”ได้แก่ โนนเอียด(ม.1) โนนทุ่ง (ม.2) ป่าสาธารณะ ป่าช้าสาธารณะและดอนปู่ตา ราษฎรใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และเก็บผักเก็บเห็ดเก็บสมุนไพรตามธรรมชาติบางชนิด
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน แบ่งเป็นจำนวน 12 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านโนนโหนน หมู่ที่ 7 บ้านหนองคูออก
หมู่ที่ 2 บ้านนาโหนนเหนือ หมู่ที่ 8 บ้านหนองคูตก
หมู่ที่ 3 บ้านคอนสาย หมู่ที่ 9 บ้านหนองคูใต้
หมู่ที่ 4 บ้านหนองคูเหนือ หมู่ที่ 10 บ้านหนองขาม
หมู่ที่ 5 บ้านนาโหนนน้อย หมู่ที่ 11 บ้านโนนโหนนตก
หมู่ที่ 6 บ้านนาโหนนใต้ หมู่ที่ 12 บ้านใหม่รุ่งเรือง
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนนประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในแต่ละหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน รวมมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนนได้ 12 คน (พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๖๒)
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตำบลโนนโหนน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากที่ทำการอำเภอวารินชำราบ ระยะทางประมาณ 10.3 กิโลเมตรและห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 23,156 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6 ของอำเภอวารินชำราบ และอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบอนและตำบลโคกก่อง อำเภอสำโรง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินต่ำและมีป่าไม้ชุมชน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 124 - 133 เมตร มีลำห้วยผับไหลผ่านมีหนองน้ำตามธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไปองค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน พื้นที่การเกษตรและพื้นที่ ส.ป.ก. พื้นที่รวมของตำบลประมาณ 23,156 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ แยกได้ดังนี้ พื้นที่การเกษตรของตำบลรวม 14,530 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะและอื่นๆ 8,626 ไร่ ทั้งนี้มีพื้นที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) 4,022 –3 – 07 ไร่
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศมีอากาศแบบร้อนชื้นโดยทั่วไป คือ จะมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม และในปี 2558 มีฝนตกประมาณ 108 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 1,258.6 มิลลิเมตร
1.4 ลักษณะของดิน
ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายโดยมีคุณสมบัติเหมือนทรายน้ำซึมผ่านได้ง่ายมากดินร่วน เป็นดินที่ประกอบด้วย ทราย โคลนตม และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินทรายและดินเหนียวไม่มากนัก ดังนั้น น้ำและอากาศจึงไหลผ่านดินร่วนได้ดีกว่าดินเหนียว
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วยข่า(ม.4) หนองแคน(ม.4) ห้วยค้า(ม.5) หนองหัวช้าง(ม.5) ลำห้วยผึ้ง(ม.5) คลองน่าเหล่า(ม.6) หนองหว้า(ม.6) หนองฮู(ม.6) กุดโง(ม.3) ลำห้วยผับ(ม.7) หนองถ่าในเหล่า(ม.7) หนองสองห้อง(ม.7) หนองเหวอ(ม.7) หนองบักชอม(ม.6) หนองค่าน้อย(ม.7) ฮ่องพราก(ม.7) ฮ่องขี้ม่อน(ม.7) ลำห้วยผับ(ม.9) บุ่งโง(ม.9) ฮ่องแดง(ม.10) ห้วยผับ(ม.11) หนองซำแฮด (ม.11) ซึ่งนับว่าอุดมสมบูรณ์อย่างมาก ในน้ำมีปลา หลากหลายชนิดพันธุ์เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้าน
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เป็นลักษณะฝายคอนกรีตเสริมเหล็กมีบานประตูเหล็กเปิด-ปิดควบคุมระดับน้ำ ลำห้วยผับ
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ป่าชุมชน พื้นที่ป่าเป็นป่าชุมชนในที่สาธารณะประโยชน์ เรียกว่า“ โนน ”ได้แก่ โนนเอียด(ม.1) โนนทุ่ง (ม.2) ป่าสาธารณะ ป่าช้าสาธารณะและดอนปู่ตา ราษฎรใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และเก็บผักเก็บเห็ดเก็บสมุนไพรตามธรรมชาติบางชนิด
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน แบ่งเป็นจำนวน 12 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านโนนโหนน หมู่ที่ 7 บ้านหนองคูออก
หมู่ที่ 2 บ้านนาโหนนเหนือ หมู่ที่ 8 บ้านหนองคูตก
หมู่ที่ 3 บ้านคอนสาย หมู่ที่ 9 บ้านหนองคูใต้
หมู่ที่ 4 บ้านหนองคูเหนือ หมู่ที่ 10 บ้านหนองขาม
หมู่ที่ 5 บ้านนาโหนนน้อย หมู่ที่ 11 บ้านโนนโหนนตก
หมู่ที่ 6 บ้านนาโหนนใต้ หมู่ที่ 12 บ้านใหม่รุ่งเรือง
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนนประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในแต่ละหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน รวมมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนนได้ 12 คน (พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๖๒)
วันที่ : 26 มกราคม 2560 View : 4847